Loading...

FAQ

ปริญญาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ของ มธ ใช้เวลาเรียนห้าปี หรือหกปีกันแน่

 ผู้ที่ใช้วุฒิมัธยมหกเพื่อสมัครเข้าเรียน ใช้เวลาเรียนหกปี ส่วนผู้ที่ใช้วุฒิปริญญาตรีเพื่อสมัครเข้าเรียน ใช้เวลาเรียนห้าปี การเรียนการสอนเป็นแบบทวิภาค คือหนึ่งปีการศึกษา จะประกอบด้วยสองภาคการศึกษา

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มีการเรียนกับผู้สอนคณะอื่นหรือไม่

 ปีหนึ่งเรียนวิชาพื้นฐานศึกษาทั่วไป โดยคณะวิทยาศาสตร์ และคณาจารย์ทีมศึกษาทั่วไปจากหลากหลายคณะ ปีสอง และปีสามภาคหนึ่ง เรียนกับคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ปีสามภาคสองเป็นต้นไป เรียนกับคณาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์

เรียนจบทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้วสามารถทำฟันได้เลย ใช่หรือไม่

 ไม่ใช่ จะประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้ นอกจากจะต้องได้ปริญญาทันตแพทยศาสตบัณฑิต แล้ว จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกับทันตแพทยสภา ทั้งภาคทฤษฏี และปฏิบัติ

การเรียนการสอนของคณะทันตแพทยศาสตร์ มธ มีสาขา ที่ท่าพระจันทร์ หรือ ธรรมศาสตร์ ศูนย์อื่นๆ (ลำปาง พัทยา) หรือไม่

 การเรียนการสอนทุกหลักสูตรของคณะทันตแพทยศาสตร์ จัดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ค่าเรียนแต่ละหลักสูตร

 หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคการศึกษาละ 50,000 บาท
 หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ทวิภาษา ภาคการศึกษาละ 600,000 บาท
 หลักสูตรทันตสาธารณสุช ภาคการศึกษาละ 40,000 บาท
 หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ภาคการศึกษาละ 70,000 - 300,000 บาท (ขึ้นกับสาขาวิชาที่เลือกเรียน)

ผู้พิการสมัครเรียนได้หรือไม่

 การรับเข้าแต่ละปีมีโควต้าสำหรับผู้พิการ หนึ่งตำแหน่ง รับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนด้านทันตแพทยศาสตร์ ใช้ผลคะแนน GAT, PAT เจ็ดวิชาสามัญ และการสัมภาษณ์​เป็นเกณฑ์การรับสมัคร

มีหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยให้อยู่ไหม

 นักศึกษาปีหนึ่งที่ยื่นขอหอพักภายในมหาวิทยาลัยเกือบทุกคนจะได้ห้องพัก

รูปแบบการเรียนการสอนแตกต่างจากที่อื่นหรือไม่

การเรียนการสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มีรูปแบบดังนี้

1.PBL: Problem-based learning การเรียนการสอนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ การเรียนรู้ส่วนใหญ่มาจากอภิปรายกลุ่มย่อย ทำงานกลุ่ม ส่วนการบรรยายมีน้อย

2.CBL: Community-based learning การเรียนการสอนด้วยการฝึกภาคสนาม ใช้ปัญหาของชุมชน เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ นักศึกษาต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ฝึกภาคสนาม เช่น จังหวัดลพบุรี สระบุรี ราชบุรี สองถึงสามครั้ง ครั้งละ 1-2 สัปดาห์

3.Clinical practice: การฝึกปฏิบัติงานคลินิกทันตกรรม ทำฟันในคนไข้จริง เริ่มตั้งแต่ชั้นปีที่ห้า เป็นต้นไป